ONLINE SERVICES
TRACK YOUR CONTAINER »

เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม ที่ผ่านมา Mr. Stephen Ashworth กรรมการผู้จัดการ บริษัท ฮัทชิสัน พอร์ท ประเทศไทย (HPT) ได้รับเกียรติในการเข้าร่วมงานสัมมนาออนไลน์ ‘HSBC Tech Webinar Series: Building smarter infrastructure through technology’ ของธนาคาร HSBC Thailand ในฐานะผู้ร่วมอภิปรายทรงคุณวุฒิ

งานสัมมนาออนไลน์ครั้งนี้ มีเป้าหมายเพื่อให้ผู้ประกอบการชั้นนำในอุตสาหกรรมต่างๆ ร่วมหารือเกี่ยวกับภาพรวมของโครงสร้างพื้นฐานในภูมิภาคเอเชีย และการปรับใช้เทคโนโลยีล้ำสมัยเข้ากับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในประเทศต่างๆ ทั่วภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก

โดย Mr. Ashworth ได้ร่วมเสนอมุมมองถึงความจำเป็นต่อการเสริมประสิทธิภาพปฏิบัติการท่าเทียบเรือด้วยเทคโนโลยีอัตโนมัติ รวมทั้งความท้าทายในอุตสาหกรรมท่าเรือและท่าเทียบเรือซึ่งเป็นผลมาจากวิกฤตโรคระบาด เช่น ความแออัดภายในท่าเรือ พร้อมกันนั้นกรรมการผู้จัดการของ HPT ยังเผยถึงแผนการยกระดับปฏิบัติการท่าเทียบเรือของบริษัทฯ ผ่านการใช้งานหัวรถลากอัตโนมัติ และเครนยกสินค้าหน้าท่าระบบควบคุมจากระยะไกล ซึ่งมีส่วนช่วยในการลดการปล่อยมลพิษ อันปัจจัยให้เกิดภาวะโลกร้อนอีกด้วย

วันที่ 30 กันยายน 2021 คุณอาณัติ มัชฌิมา ประธานบริหารงานทั่วไป บริษัท ฮัทชิสัน พอร์ท ประเทศไทย (HPT) ได้รับเกียรติจากคณะพาณิชยนาวีนานาชาติ มหาวิทยาลัยวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา เข้าร่วมกิจกรรมเสวนาในฐานะวิทยากร เพื่อแบ่งปันประสบการณ์และความรู้ ภายใต้หัวข้อ ‘สถานการณ์โควิด-19 และผลกระทบของคนประจำเรือ’ ให้แก่คณะอาจารย์และนักศึกษา ผู้เข้าร่วมงานกว่า 200 ท่าน การสัมมนาครั้งนี้ เป็นส่วนหนึ่งของโครงการข้อตกลงความร่วมมือทวิภาคีทางวิชาการ (MOA) ระหว่างบริษัท ฮัทชิสัน พอร์ท ประเทศไทย และคณะพาณิชยนาวีนานาชาติ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา ซึ่งมีเป้าหมายในการยกระดับการศึกษาและเตรียมความพร้อมให้แก่นักศึกษา สู่การเป็นบุคลากรที่ประสบความสำเร็จในสายอาชีพการเดินเรือ ในภายภาคหน้า

นโยบายความปลอดภัย อาชีวอนามัย และ สภาพแวดล้อม ในการทำงาน(ปรับปรุง 2564) ดาวน์โหลด

กลุ่มบริษัท Hutchison Ports Group เล็งเห็นความสำคัญของการปฏิบัติการท่าเทียบเรือที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม พร้อมเดินหน้าโครงการทดลองหัวรถลากอัตโนมัติอัจฉริยะ ระบบไฟฟ้า เพื่อเสริมประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน อย่างปลอดภัย ไร้การปล่อยมลภาวะ และเพื่ออนาคตที่ยั่งยืน กลุ่มบริษัทฯ เลือกท่าเทียบเรือชุด D ของ ฮัทชิสัน พอร์ท ประเทศไทย (HPT) เป็นศูนย์การเรียนรู้เทคโนโลยีรักษ์โลกที่ล้ำสมัย ด้วยหัวลากอัตโนมัติจำนวนหกคัน โดยนับตั้งแต่เริ่มต้นการทดลองในปี 2020 จนถึงปัจจุบัน HPT ประสบความสำเร็จกับปฏิบัติการยกขนตู้สินค้าด้วยรถหัวลากอัตโนมัติแล้วกว่า 20,000 ทีอียู ชมวิดีโอนำเสนอรถหัวลากอัตโนมัติที่ HPT นำมาปรับใช้ในปฏิบัติการหน้าท่า ณ ท่าเทียบเรือชุด D ที่นี่ https://bit.ly/3tA6CIK และอ่านข้อมูลเพิ่มเติมของรถหัวลากอัตโนมัติ ในวารสาออนไลน์ OPPORTUNITY ของ Hutchison Ports ได้ที่นี่ https://bit.ly/3A6oopu

เมื่อวันที่ 26 สิงหาคมที่ผ่านมา บริษัท ฮัทชิสัน พอร์ท ประเทศไทย (HPT) จัดงานสัมมนาออนไลน์ เผยผลการดำเนินธุรกิจให้แก่สื่อมวลชน โดย Mr. Stephen Ashworth กรรมการผู้จัดการประจำประเทศไทย และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และคุณอาณัติ มัชฌิมา ประธานบริหารงานทั่วไปของ HPT ได้เปิดเผยผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 ต่อการปฏิบัติงาน และปริมาณตู้สินค้าผ่านท่า ณ ท่าเทียบเรือของ HPT ในท่าเรือแหลมฉบัง

พร้อมกับเปิดเผยแผนการนำเทคโนโลยีล้ำสมัยมาใช้ในท่าเทียบเรือชุด D รวมถึง รถหัวลากอัตโนมัติสำหรับใช้งานระหว่างหน้าท่าและลานตู้สินค้า อีกด้วย

ทั้งนี้ งานสัมมนาครั้งนี้มีผู้เข้าร่วมจากสื่อมวลชนประเทศไทยจำนวน 30 ท่าน

ชมไฮไลท์ของงานสัมมนาออนไลน์ของเราได้ที่ https://youtu.be/ajcMWeJqJ-M 
ดาวน์โหลด Press Release ได้ที่นี่

ท่านสามารถดาวน์โหลดเอกสารได้ที่นี่ “แบบหนังสือตอบรับการขอรับเอกสาร” เพื่อกรอกรายละเอียดขอลงทะเบียนในระบบกับทางบริษัทก่อนยื่นส่งเอกสารทั้งหมด มาที่อีเมล์ [email protected]

บริษัท ฮัทชิสัน พอร์ท ประเทศไทย (HPT) ได้เข้าร่วมโครงการ ‘Our Sustainable Future’  เพื่อช่วยเสริมสร้างอนาคตที่ยั่งยืน ผ่านการจัดกิจกรรมต่างๆ เพื่อสร้างความตระหนักรู้ถึงความสำคัญของการรักษาสภาพแวดล้อม และเพื่อให้สอดคล้องไปกับโครงการฯ และเสริมสร้างความปลอดภัยให้แก่พนักงานภายในองค์กร ภายใต้วิกฤตการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสขณะนี้ HPT ได้มอบต้นฟ้าทะลายโจรให้แก่พนักงาน เพื่อนำไปปลูกและรับประทานเป็นยาสมุนไพรที่มีสรรพคุณสร้างภูมิต้านทานและสามารถรักษาอาการติดเชื้อ COVID-19 เบื้องต้นได้
ปัจจุบัน การรักษาสภาพแวดล้อมกลายเป็นส่วนหนึ่งในพันธกิจสำคัญขององค์กร และอุตสาหกรรมทั่วโลก ในการนี้ Hutchison Ports Group เล็งเห็นความสำคัญของการปฏิบัติการโดยสร้างผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมให้น้อยที่สุด พร้อมกับฟื้นฟูระบบนิเวศรอบข้าง เพื่อเสริมสร้างอนาคตที่ยั่งยืน ในแง่ของการดำเนินธุรกิจและการใช้ชีวิต พร้อมกับเดินหน้าโครงการ ‘Our Sustainable Future’ ในท่าเทียบเรือ 53 ท่า 27 ประเทศทั่วโลก โดยบริษัท ฮัทชิสัน พอร์ท ประเทศไทย (HPT) ได้เข้าร่วมโครงการดังกล่าวเพื่อช่วยเสริมสร้างอนาคตที่ยั่งยืน ผ่านการจัดกิจกรรมเพื่อสร้างความตระหนักรู้ถึงความสำคัญของการรักษาสภาพแวดล้อมสำหรับเจ้าหน้าที่ภายในองค์กร และบุคคลภายนอก ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม จนถึงเดือนพฤศจิกายน 2021 ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของพันธกิจรักษ์โลก เพื่อสร้างอนาคตที่ยั่งยืนกับเราได้ โดยติดตามเพจ Hutchison Ports Thailand อย่างใกล้ชิด เพื่ออัปเดทข่าวสารล่าสุดเกี่ยวกับกิจกรรม Our Sustainable Future
วันที่ 6 กรกฎาคม 2021 Mr. Stephen Ashworth กรรมการผู้จัดการ และคุณอาณัติ มัชฌิมา ประธานบริหารงานทั่วไป บริษัท ฮัทชิสัน พอร์ท ประเทศไทย (HPT) ได้สนับสนุนงบประมาณจัดซื้อเครื่องวัดความอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือด เพื่อรองรับผู้ติดเชื้อ COVID-19 ให้แก่โรงพยาบาลแหลมฉบัง โดยในการมอบงบประมาณครั้งนี้ นายแพทย์ราเมศร์  อำไพพิศ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลแหลมฉบังและ นายแพทย์จิรศักดิ์ จิรากูลสวัสดิ์ รองผู้อำนวยการโรงพยาบาลแหลมฉบัง  เป็นตัวแทนจากโรงพยาบาลฯ รับมอบเงินสนับสนุน ณ โรงพยาบาลแหลมฉบัง จังหวัดชลบุรี

จดหมายเปิดผนึก จาก Mr. Stephen Ashworth กรรมการผู้จัดการ Hutchison Ports ประเทศไทย

เรื่อง – เทคโนโลยีอัตโนมัติกลายเป็นส่วนสำคัญของท่าเทียบเรือชุด D ขณะที่ตลาดการค้าทั่วโลกในปี 2021 แสดงแนวโน้มการฟื้นตัว

ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ Hutchison Ports ดำเนินธุรกิจท่าเทียบเรือขนส่งตู้สินค้า ในท่าเรือแหลมฉบัง ประเทศไทย ท่าเรือ Thilawa เมียนมาร์ และท่าเรือ Tanjung Priok ในเมือง Jakarta อินโดนีเซีย พร้อมกันนี้ เรายังให้ความสนใจในการดำเนินธุรกิจ ท่าเทียบเรือขนส่งตู้สินค้าที่ WestPorts ภายใน Port Klang ประเทศมาเลเซีย และท่าเทียบเรือขนส่งสินค้าทั่วไป ที่ Cai Mep-Thi Vai ในเวียดนามอีกด้วย

ในช่วงต้นของวิกฤตการแพร่ระบาดของ COVID-19 ปริมาณการบริโภคสินค้าทั่วโลกหดตัวลงอย่างเห็นได้ชัด ยกเว้น ท่าเรือ Cai Mep-Thi Vai ที่มีปริมาณตู้สินค้าเพิ่มขึ้น 18 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเทียบกับปริมาณตู้สินค้าในปี 2019 ส่วนท่าเทียบเรืออื่นๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่เราดำเนินธุรกิจอยู่ ล้วนแล้วแต่มีปริมาณตู้สินค้าลดลง เมื่อเทียบกันแบบปีต่อปีในสัดส่วนที่แตกต่างกันออกไป ยกตัวอย่างเช่น ปริมาณตู้สินค้าที่ท่าเทียบเรือของเราในท่าเรือแหลมฉบัง ลดลง 5 เปอร์เซ็นต์ ขณะที่ท่าเทียบเรือ ที่ Tanjung Priok มีปริมาณตู้สินค้าลดลงถึง 11 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเทียบกับปริมาณตู้สินค้าในปี 2019

 

West Port, Malaysia.

อย่างไรก็ตาม ปี 2021 กลับมาพร้อมสภาพการณ์ที่เหนือความคาดหมาย เมื่อท่าเทียบเรือส่วนใหญ่ของ Hutchison Ports ในภูมิภาคมีปริมาณตู้สินค้าผ่านท่าดีดตัวสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว สืบเนื่องมาจากปริมาณการส่งออกสินค้าที่ขยายตัวขึ้น อันเป็นผลพวงของความต้องการบริโภคในภูมิภาคอเมริกาเหนือและยุโรป ซึ่งหันมาใช้เงินจับจ่ายซื้อสินค้าแทนการท่องเที่ยว เนื่องจากข้อจำกัดด้านการออกจากเคหะสถาน

ยกตัวอย่างเช่น ที่ท่าเทียบเรือ Hutchison Ports Thailand ท่าเรือแหลมฉบัง เราเห็นปริมาณการขนส่งสินค้าในเส้นทางระหว่างเอเซีย – ยุโรปและอเมริกา และเส้นทาง Intra-Asia ที่กำลังขยายตัวเพิ่มมากขึ้น อย่างไรก็ดี กระแสปริมาณสินค้าที่ดีดตัวขึ้นอย่างกะทันหัน ก็ส่งผลให้เกิดปัญหาในการวางแผนและปฏิบัติงาน และมีผลกระทบเป็นโดมิโน่ เช่น ผลกระทบจากปัญหาเรือเข้าเทียบท่าล่าช้าจากกำหนด และต้องการเข้าเทียบท่าภายในวันเดียวกัน

 

Myanmar International Terminal Thilawa (MITT).

ขณะที่ท่าเทียบเรืออื่นๆ มีปริมาณสินค้าเพิ่มมากขึ้น แต่ท่าเทียบเรือของเราในเมียนมาร์ กลับพลาดโอกาสเนื่องจากวิกฤตการเมืองภายในของเมียนมาร์ ซึ่งส่งผลกระทบอย่างมีนัยยะสำคัญต่อกระแสการค้าทั้งขาเข้าและขาออกจากประเทศ และ แม้ว่าเรายังให้เปิดให้บริการตามปกติ แต่สายการเดินเรือหลายแห่งต่างก็ลดปริมาณการเข้าเทียบท่าในเมียนมาร์ เนื่องจากปริมาณสินค้าที่ลดลง

ในขณะที่อุบัติเหตุเรือขนาดใหญ่ขวางคลองสุเอซ ที่ผ่านมา ไม่ได้ส่งผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจท่าเทียบเรือในภูมิภาคของเราอย่างมีนัยยะ หากแต่เมื่อพิเคราะห์ผลกระทบจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 การหยุดชะงักของกระแสการค้า และกลยุทธ์ของสายการเดินเรือในการนำเรือขนส่งสินค้าขนาดใหญ่ขึ้นมาให้บริการ ก็จะได้ข้อสรุปที่ชัดเจนว่า การปรับใช้เทคโนโลยีล้ำสมัยเข้ากับทำงานของท่าเทียบเรือของเรา สามารถช่วยผลักดันประสิทธิภาพการทำงาน รวมทั้งช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดเหตุที่ไม่สามารถคาดการณ์ได้

ก่อนหน้าวิกฤตการณ์เช่นในปัจจุบัน ท่าเทียบเรือ D ของ Hutchison Ports Thailand ซึ่งเป็นหนึ่งในท่าเทียบเรือหลักของกลุ่มบริษัท Hutchison Ports Group เป็นท่าเทียบเรือที่เปิดรับ และปรับใช้เทคโนโลยีล้ำสมัย ด้วยวิสัยทัศน์ก้าวหน้าสู่อนาคตอยู่แล้ว

เนื่องจาก ท่าเทียบเรือ D ได้รับการวางแผนและก่อสร้างขึ้นบนโครงสร้างพื้นฐานที่มุ่งเน้นการดำเนินธุรกิจเพื่อความยั่งยืนและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ฝ่ายพัฒนาปฏิบัติการและทีม IT ของเราจึงสามารถวางแผนและออกแบบการทำงานของท่าเทียบเรือฯ โดยมีรากฐานบนเทคโนโลยีล้ำสมัยที่ปฏิบัติการเพื่อความยั่งยืนตั้งแต่ต้น นอกจากนี้ การออกแบบพื้นที่หน้าท่าเทียบเรือ กอปรกับปั้นจั่นยกตู้สินค้าขนาด Super Post Panamax ที่ทำงานด้วยการควบคุมจากระยะไกล ก็อำนวยให้เราสามารถรองรับเรือขนส่งตู้สินค้าขนาดใหญ่ที่สุดที่ปฏิบัติการอยู่ในปัจจุบันได้

เมื่อเทคโนโลยีดังกล่าว ผนวกเข้ากับเทคโนโลยีเสริมประสิทธิภาพในการทำงานอื่นๆ ในอนาคตอันใกล้นี้ เราวางหมุดหมายว่าประสิทธิภาพการทำงาน ความปลอดภัย และความแม่นยำในกระบวนการปฏิบัติงานของท่าเทียบเรือ D จะเพิ่มพูนขึ้นไปพร้อมกับศักยภาพของท่าเทียบเรือฯ ที่จะได้รับการพัฒนาจนเต็มประสิทธิภาพ ซึ่งจะสามารถรองรับตู้สินค้าได้มากกว่า 3.5 ล้านทีอียู

 

Hutchison Ports Thailand’s Terminal D.

โดยหนึ่งในเทคโนโลยีเสริมประสิทธิภาพปฏิบัติการที่เราเปิดรับ เพื่อปรับใช้กับท่าเทียบเรือ D คือเทคโนโลยีรถหัวลากตู้สินค้าอัตโนมัติรุ่นล่าสุด หลายท่านได้สอบถามผมเกี่ยวกับความคืบหน้าของโครงการทดสอบรถหัวลากตู้สินค้าอัตโนมัติจำนวนหกคัน ซึ่งได้รับการส่งมอบที่ท่าเทียบเรือ D เมื่อปีที่ผ่านมา รถหัวลากตู้สินค้าพลังงานไฟฟ้าเหล่านี้ มีการติดตั้งระบบปฏิบัติการอัจฉริยะ พร้อมกับเซ็นเซอร์ LiDAR และกล้องความชัดสูง สำหรับตรวจจับวัตถุแวดล้อม และหลีกเลี่ยงอุบัติเหตุขณะปฏิบัติการ

อีกทั้ง ระบบ GPS ยังช่วยให้รถหัวลากตู้สินค้าระบุตำแหน่งของเส้นทางและจุดหมายอย่างแม่นยำ เมื่อทำงานร่วมกับระบบประมวลผลแบบปัญญาประดิษฐ์ ซึ่งผนวกเข้ากับระบบปฏิบัติการ ‘nGen’ ของท่าเทียบเรือฯ รถหัวลากตู้สินค้าอัตโนมัติเหล่านี้ สามารถวางแผนเส้นทางสู่จุดหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ทั้งนี้ ท่าเทียบเรือ D ยังได้มีการติดตั้งป้ายจราจร และแยกช่องจราจรอย่างชัดเจนสำหรับรถหัวลากตู้สินค้าทั่วไป และรถหัวลากตู้สินค้าอัตโนมัติ ซึ่งต้องปฏิบัติการภายใต้กฎการจราจรเดียวกัน

 

The autonomous truck in operation at Hutchison Ports Thailand Terminal D.

ขณะนี้ ผลลัพธ์ของโครงการทดสอบฯ มีแนวโน้มในทิศทางที่ดี นับตั้งแต่เริ่มต้นทดสอบจนถึงปัจจุบัน ฝูงรถหัวลากตู้สินค้าอัตโนมัติทั้งหกคันมีส่วนร่วมในการยกขนตู้สินค้าไปแล้วประมาณ 12,000 ตู้  และมีความเป็นไปได้ที่เราอาจพิจารณาสั่งซื้อรถหัวลากตู้สินค้าอัตโนมัติเพิ่มเติม เพื่อนำมาทำงานควบคู่ไปกับกองรถหัวลากตู้สินค้าทั่วไป ณ ท่าเทียบเรือ D ซึ่งผมจะคอยรายงานให้ทุกท่านได้ทราบถึงความคืบหน้าของโครงการพิเศษนี้ต่อไป

นับจากนี้ ผมมั่นใจเป็นอย่างยิ่งว่าธุรกิจท่าเทียบเรือและการขนส่งตู้สินค้าของเรามีแนวโน้มที่จะกลับมาสดใส แน่นอนว่าการเปลี่ยนผ่านวิธีการดำเนินงานสู่แพลตฟอร์มดิจิทัล และการปรับใช้เทคโนโลยีอัตโนมัติ เป็นแนวทางของการปรับตัวเข้ากับความท้าทายที่มาในรูปของการพัฒนาอย่างยั่งยืน ปริมาณสินค้าที่เพิ่มขึ้น การเพิ่มพูนประสิทธิภาพการปฏิบัติการ การใช้เรือขนส่งตู้สินค้าขนาดใหญ่ขึ้น รวมไปถึงเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดอย่างเช่นวิกฤตโรคระบาดในขณะนี้  ผู้ประกอบการท่าเทียบเรือก็จำเป็นต้องพิจารณาสร้างสมดุลระหว่างความต้องการลงทุนในเทคโนโลยีที่ล้ำสมัย และการสร้างผลกำไรโดยรวมจากการลงทุน

Stephen Ashworth

กรรมการผู้จัดการ Hutchison Ports ประเทศไทย และภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

Page 6 of 20 1 4 5 6 7 8 20