ONLINE SERVICES
TRACK YOUR CONTAINER »

บริษัท ฮัทชิสัน พอร์ท ประเทศไทย (HPT) ต้อนรับเรือขนส่งตู้สินค้าลำแรกของสายการเดินเรือ Ocean Network Express หรือ ONE ในท่าเรือแหลมฉบัง โดยเรือขนส่งสินค้า MV ONE COMMITMENT ได้เข้าเทียบท่าเทียบเรือ C1C2 ของ HPT เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม และออกจากท่า เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม ที่ผ่านมา ทั้งนี้ สายการเดินเรือ Ocean Network Express หรือ ONE เกิดจากความร่วมมือระหว่างสายการเดินเรือสัญชาติญี่ปุ่นรายใหญ่สามบริษัท ได้แก่ NYK, MOL และ “K” Line โดยสายการเดินเรือ ONE ได้เริ่มให้บริการครั้งแรกเมื่อเดือนเมษายน ที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม การเข้าเทียบท่าครั้งนี้ไม่ใช่ครั้งแรกที่สายการเดินเรือ ONE เข้าเทียบท่าเรือของ HPT โดยเมื่อเดือนมกราคม ที่ผ่านมา HPT ได้ให้บริการจัดการตู้สินค้าล๊อตแรกของ ONE จำนวน 30 ตู้ ในท่าเรือแหลมฉบัง ประเทศไทยด้วย ทั้งนี้ ตัวแทนของท่าเทียบเรือฯ ระบุว่า HPT มีความภาคภูมิใจอย่างยิ่งที่ได้ต้อนรับเรือขนส่งสินค้า MV ONE COMMITMENT และหวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะได้ร่วมงานกับสายการเดินเรือ ONE ต่อไป โดยปัจจุบัน HPT เป็นผู้ประกอบการท่าเทียบเรือ A2, A3 และ C1C2 ที่ท่าเรือแหลมฉบัง นอกจากนี้ HPT ยังได้เตรียมเปิดให้บริการท่าเทียบเรือ ชุด D เพื่อรองรับการเติบโตที่สูงขึ้นของท่าเรือแหลมฉบัง ซึ่งเมื่อเร็วๆ นี้ HPT ได้มีการรับมอบปั้นจั่นยกตู้สินค้าหน้าท่าควบคุมการปฏิบัติงานจากระยะไกลและปั้นจั่นยกตู้สินค้าในลานแบบล้อยาง ซึ่งได้ทำการติดตั้งในท่าเทียบเรือ ชุด D เฟส 1A โดยเครื่องมือชุดใหม่มีขนาดใหญ่ที่สุดและทันสมัยที่สุดในประเทศไทย และได้แสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นและความทุ่มเทของ HPT ที่มีต่อท่าเรือแหลมฉบังและประเทศไทยด้วย
บริษัท ฮัทชิสัน พอร์ท ประเทศไทย (HPT) รู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่สำนักงานกรมศุลกากรท่าเรือแหลมฉบัง ได้คัดเลือกให้ท่าเทียบเรือ A3 เป็นท่าเทียบเรือนำร่องเพื่อนำระบบพิธีการศุลกากรว่าด้วยการดำเนินกระบวนการทางศุลกากรล่วงหน้า สำหรับการนำเข้าสินค้าทางเรืออย่างเต็มรูปแบบ หรือ  Pre Arrival Processing โดยระบบดังกล่าว ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางจากองค์ระหว่างประเทศ เช่น องค์กรการค้าโลกและองค์การศุลกากรโลก โดยเอื้อให้เกิดการจัดส่งข้อมูลผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ล่วงหน้า เพื่อช่วยอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้นำเข้าในการขนส่งสินค้าออกจากท่าเทียบเรือได้ทันที หลังจากการขนถ่ายตู้สินค้าลงจากเรือ ซึ่งจะเป็นการลดระยะเวลาและขั้นตอนในการนำเข้าสินค้า และยังช่วยพัฒนาศักยภาพของประเทศไทยเพื่อให้เป็นศูนย์กลางการขนส่งของภูมิภาคและในระดับสากลต่อไป ทั้งนี้ ฮัทชิสัน พอร์ท ประเทศไทย ได้มุ่งให้ความสำคัญในการใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศอย่างจริงจัง เพื่อยกระดับการให้บริการแก่ลูกค้า และเพื่อเป็นการสนับสนุนโครงการกรมศุลกากรในครั้งนี้ โดยโครงการ Pre Arrival Processing จะช่วยเพิ่มความถูกต้อง ตรงเวลา และการเพิ่มมูลค่าการบริการให้แก่ผู้นำเข้า และหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องทั้งหมดได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ กลุ่มบริษัท ฮัทชิสัน พอร์ท ประเทศไทย ยังนำโครงการ Pre Arrival Processing ไปให้บริการที่ท่าเทียบเรือ ชุด D1 แห่งใหม่ด้วย ซึ่งมีกำหนดเริ่มให้บริการในเดือนหน้านี้
บริษัท ฮัทชิสัน พอร์ท ประเทศไทย (HPT) ผู้ประกอบการท่าเทียบเรือชั้นนำในประเทศไทย เปิดตัวโครงการท่าเทียบเรือ ชุด D ในท่าเรือแหลมฉบัง มูลค่าการลงทุนเกือบ 20,000 ล้านบาท (600 ล้านเหรียญสหรัฐ) โดยท่าเทียบเรือชุดใหม่นี้จะเป็นท่าเทียบเรือขนส่งสินค้าแห่งแรกของโลกที่มีการติดตั้งเทคโนโลยีควบคุมระบบปฏิบัติงานจากระยะไกล (Remote Control Technology) อย่างเต็มรูปแบบ ทั้งนี้ ท่าเทียบเรือ ชุด D ถือเป็นส่วนสำคัญภายใต้โครงการระเบียงเศรษฐกิจพื้นที่ภาคตะวันออก (EEC) ซึ่งเป็นโครงการภายใต้ยุทธศาสตร์ไทยแลนด์ 4.0 ที่มีเป้าที่จะขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยให้ทันสมัยผ่านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม ท่าเทียบเรือชุด D จะสร้างมาตรฐานใหม่ให้กับอุตสาหกรรมท่าเรือในระดับสากล เมื่อโครงการเสร็จสมบูรณ์ ท่าเทียบเรือ ชุด D จะสามารถเพิ่มศักยภาพในการรองรับตู้สินค้าของท่าเรือแหลมฉบังได้อย่างมหาศาลถึงราว 3.5 ล้านทีอียู (หน่วยนับตู้สินค้าขนาด 20 ฟุต) ทั้งนี้ ในช่วงแรกของการก่อสร้างท่าเทียบเรือ ชุด D จะประกอบไปด้วยปั้นจั่นยกตู้สินค้าหน้าท่าที่ใหญ่ที่สุดในโลกถึงสามคัน ปฏิบัติงานผ่านเทคโนโลยีควบคุมจากระยะไกล โดยคาดว่าจะเปิดใช้งานในช่วงแรกนี้ได้ในช่วงกลางปี 2018 Mr. Stephen Ashworth กรรมการผู้จัดการ Hutchison Ports ประจำประเทศไทยและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กล่าวถึงความคืบหน้าของท่าเทียบเรือชุด D ว่า “เรารู้สึกภาคภูมิใจที่ได้มีส่วนช่วยส่งเสริมวิสัยทัศน์ของรัฐบาลไทยในเรื่องการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศและการลงทุนในท่าเทียบเรือชุด D นี้ ถือเป็นการลงทุนครั้งล่าสุดของเราที่จะกระตุ้นศักยภาพของท่าเรือแหลมฉบัง เพื่อช่วยอำนวยความสะดวกและเอื้อต่อความเจริญเติบโตของกิจการค้าของประเทศ” ท่าเทียบเรือชุด D ใหม่นี้จะสามารถรองรับเรือเดินสมุทรขนาดใหญ่ในปัจจุบันได้เป็นอย่างดี ช่วยเพิ่มความคล่องตัวและทางเลือกให้กับลูกค้า ควบคู่ไปกับการยกระดับของประสิทธิภาพและประสิทธิผลได้ในคราวเดียวกัน เมื่อโครงการเสร็จสมบูรณ์แล้ว ท่าเทียบเรือชุด D ใหม่นี้ จะมีความยาวหน้าท่ารวมทั้งสิ้น 1,700 เมตร มีปั้นจั่นยกตู้สินค้าหน้าท่า (super post panamax quay cranes) จำนวน 17 คัน และมีปั้นจั่นยกตู้สินค้าในลานแบบล้อยางไฟฟ้า (electric rubber tyred gantry cranes) อีกจำนวน 43 คัน ที่ได้รับการติดตั้งเทคโนโลยีควบคุมระบบปฏิบัติงานจากระยะไกล ซึ่งส่งผลดีหลายประการ อาทิ เพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการปฏิบัติงาน ยกระดับสภาพแวดล้อมในการทำงานของพนักงานควบคุมปั้นจั่น เพิ่มศักยภาพความปลอดภัยด้านอุตสาหกรรม สร้างภาพแวดล้อมที่สะอาดเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ผ่านการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ Mr. Ashworth ยังกล่าวเพิ่มเติมอีกว่า “Hutchison Ports มีเครือข่ายท่าเทียบเรืออยู่ถึง 52 แห่ง ใน 26 ประเทศทั่วโลก เราสามารถดึงเอาความรู้ความชำนาญที่มีมาปรับใช้กับแหลมฉบังได้ เช่นเดียวกับการนำเอาหลักปฏิบัติที่ดีที่สุดในโลก เทคโนโลยีชั้นนำในระดับสากล ตลอดจนความสัมพันธ์อันแนบแน่นที่เรามีกับผู้ประกอบการขนส่งระดับแถวหน้าของโลกมาใช้กับที่นี่ได้ และด้วยความสนับสนุนจากหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องในประเทศไทย เรามั่นใจว่าเทคโนโลยีอันล้ำสมัยของเราจะเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยให้ประเทศไทยสามารถเติบโตขึ้นได้อย่างยั่งยืน”
เมื่อวันที่ 17 เมษายน ที่ผ่านมา บริษัท ฮัทชิสัน พอร์ท ประเทศไทย (HPT) ผู้ประกอบการท่าเทียบเรือรายใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ได้รับมอบรถหัวลากพร้อมหางชุดแรก จำนวน 20 คัน ในท่าเทียบเรือ ชุด D ท่าเรือแหลมฉบัง โดยท่าเทียบเรือ ชุด D จะมีรถหัวลากพร้อมหางรวมทั้งหมด 100 คัน ทั้งนี้ ท่าเทียบเรือชุด D เป็นท่าเทียบเรือใหม่ เมื่อเสร็จสมบูรณ์จะสามารถรองรับหนึ่งในเรือขนส่งสินค้าที่ขนาดใหญ่ที่สุดในโลกที่ประจำการในปัจจุบันได้ และเมื่อก่อสร้างเสร็จครบทุกเฟสแล้ว จะพร้อมให้บริการด้วยปั้นจั่นยกตู้สินค้าหน้าท่า จำนวน 17 คัน และปั้นจั่นยกตู้สินค้าในลานแบบล้อยาง จำนวน 43 คัน ซึ่งปฏิบัติการด้วยระบบควบคุมระยะไกล ทั้งนี้ ท่าเทียบเรือ ชุด D มีความยาวหน้าท่าทั้งหมด 1,700 เมตร มีการติดตั้งเทคโนโลยีอันทันสมัย สิ่งอำนวยความสะดวก และเครื่องมือรุ่นใหม่ล่าสุดในท่าเรือแหลมฉบัง พร้อมขีดความสามารถในการรองรับตู้สินค้าได้ประมาณ 3.4 ล้านทีอียูต่อปี การลงทุนในท่าเทียบเรือใหม่นี้ เป็นการต่อยอดความสำเร็จของ HPT ที่ได้ปฏิบัติการในท่าเรือแหลมฉบังมายาวนานกว่า 15 ปี ซึ่งเป็นการสร้างชื่อเสียงและความยั่งยืนให้แก่องค์กร นอกจากนี้ การลงทุนในท่าเทียบเรือ ชุด D ยังเป็นต้นแบบให้กับท่าเทียบเรืออื่นๆ ในภูมิภาคอีกด้วย โดยการลงทุนครั้งล่าสุดของ HPT ในการรับมอบรถหัวลากพร้อมหางชุดใหม่ แสดงให้เห็นถึงการให้ความสำคัญแก่ท่าเทียบเรือ ชุด D นอกจากนี้ HPT ยังคงมีการลงทุนอย่างต่อเนื่อง เพื่อการเติบโตในอนาคตขององค์กรและลูกค้าในประเทศไทย  

เมื่อวันที่ 24 มกราคม ที่ผ่านมา HUTCHISON PORTS THAILAND (HPT) ได้ต้อนรับตู้สินค้าล๊อตแรกของสายการเดินเรือ ONE ในประเทศไทยเป็นตู้ขนาด 40 ฟุต จำนวน 30 ตู้

ทั้งนี้ HPT ได้บริการยกขนตู้สินค้าล๊อตแรกของ ONE ที่ถูกขนส่งมายังท่าเทียบเรือ A3 ที่ท่าเรือแหลมฉบัง ท่ามกลางความยินดีของคณะผู้บริหารและบุคลากรของสายการเดินเรือ ONE หรือ Ocean Network Express ซึ่งเป็นสายการเดินเรือรายใหม่ ภายใต้การร่วมมือระหว่างสายการเดินเรือสัญชาติญี่ปุ่นรายใหญ่ทั้งสามราย ได้แก่ NYK, MOL และ “K” Line โดยทั้งสามบริษัทฯ ได้ประกาศความร่วมมือเมื่อเดือนมิถุนายน 2017 และจะเริ่มปฏิบัติการอย่างเป็นทางการในเดือนเมษายน ที่จะถึงนี้ HPT มีความภาคภูมิใจอย่างยิ่งที่ได้รับความไว้วางใจให้ทำหน้าที่ปฏิบัติการยกขนตู้สินค้า ONE ล๊อตแรกที่ขนส่งมายังประเทศไทย โดย HPT ถือเป็นผู้ประกอบการท่าเทียบเรือตู้สินค้ารายใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ปัจจุบัน บริษัทฯ เป็นผู้ประกอบการท่าเทียบเรือ A2, A3 และ C1&C2 ที่ท่าเรือแหลมฉบัง นอกจากนี้ HPT ได้มีแผนเปิดให้บริการท่าเทียบเรือชุด D เพื่อรองรับการเติบโตที่สูงขึ้น โดยเมื่อเร็วๆ นี้ HPT ได้รับมอบเครื่องมือยกขนตู้สินค้าใหม่ ซึ่งจะนำมาติดตั้งที่ท่าเทียบเรือชุด D โดยปั้นจั่นยกขนสินค้าดังกล่าว มีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย และยังเป็นปั้นจั่นที่ปฏิบัติการด้วยระบบควบคุมระยะไกลแห่งแรกของไทยอีกด้วย
การจะเป็นผู้นำที่ดีต้องมีคุณสมบัติอะไรบ้าง? แน่นอนว่าการเป็นผู้นำที่ดีนั้นต้องมีคุณสมบัติโดดเด่นหลายประการ เช่น ความเฉลียวฉลาด ความอดทน ความมุ่งมั่นและมีวิสัยทัศน์ที่กว้างไกล นอกจากนี้ หากเป็นผู้ที่มีแนวคิดแปลกใหม่แตกต่างจากผู้อื่นและสามารถเป็นตัวอย่างที่ดีได้ ก็ยิ่งจะตอกย้ำความโดดเด่น และเยี่ยมยอด ในฐานะผู้นำที่ดีมากยิ่งขึ้นไปกว่าเดิม ในฐานะบริษัทผู้ประกอบการท่าเทียบเรือรายใหญ่ที่สุดในประเทศไทย บริษัท ฮัทชิสัน พอร์ท ประเทศไทย จำกัด (HPT) ได้แสดงให้เห็นถึงการเป็นผู้นำที่โดดเด่น ด้วยการลงทุนจัดซื้อเครื่องมือยกขนตู้สินค้าชุดใหม่ ซึ่งปฏิบัติการด้วยระบบเทคโนโลยีที่ไม่เคยมีในท่าเรือแหลมฉบังมาก่อน โดยบริษัทฯ ได้ติดตั้งเครื่องมือดังกล่าวภายในท่าเทียบเรือชุด D เพื่อรองรับเรือขนส่งสินค้าทั้งขนาดใหญ่และเล็ก ซึ่งในนี้รวมถึงเรือขนส่งสินค้าขนาดใหญ่ที่สุดที่ประจำการอยู่ในปัจจุบัน แม้ปัจจุบัน ท่าเทียบเรือดังกล่าวอยู่ระหว่างการก่อสร้าง แต่อุปกรณ์ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของท่าเทียบเรือได้เดินทางมาถึงแล้วเมื่อไม่นานมานี้ โดยเครื่องมือยกตู้สินค้าชุดใหม่ ประกอบด้วย ปั้นจั่นยกตู้สินค้าหน้าท่าควบคุมการปฏิบัติงานจากระยะไกล (remote control quay crane หรือ RCQC) จำนวนสามคัน และปั้นจั่นยกตู้สินค้าในลานแบบล้อยางควบคุมการปฏิบัติงานจากระยะไกล (remote control electric rubber tyred gantry crane หรือ RCeRTGC) จำนวนแปดคัน ซึ่งผลิตโดยบริษัท Shanghai Zhenhua Heavy Industry Co., Ltd. (ZPMC) ในเมือง Shanghai ประเทศจีน หนึ่งในบริษัทผู้ผลิตปั้นจั่นชั้นนำระดับโลก โดยเครื่องมือยกตู้สินค้าอันทันสมัยนี้ จะปฏิบัติการด้วยเทคโนโลยีควบคุมระยะไกล และถือเป็นครั้งแรกของท่าเทียบเรือตู้สินค้าไทยที่ได้ใช้เครื่องมือดังกล่าว การลงทุนในท่าเทียบเรือใหม่นี้ เป็นการต่อยอดความสำเร็จของ HPT ที่ได้ปฏิบัติการในท่าเรือแหลมฉบังมายาวนานกว่าทศวรรษ ซึ่งจะช่วยเพิ่มความยั่งยืนให้แก่องค์กร นอกจากนี้ การลงทุนในท่าเทียบเรือชุด D ยังจะเป็นต้นแบบให้กับท่าเทียบเรืออื่นๆ ในภูมิภาคด้วย นิตยสาร LM ได้มีโอกาสพูดคุยกับ Mr. Stephen Ashworth กรรมการผู้จัดการ Hutchison Ports ประจำประเทศไทยและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพื่อเป็นการสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับการพัฒนาท่าเทียบเรือชุด D และการรับมอบปั้นจั่นยกตู้สินค้าชุดใหม่นี้ Innovative Equipment สำหรับเครื่องมือยกตู้สินค้าที่ได้รับมอบโดยบริษัท ZPMC ครั้งนี้ ประกอบด้วย ปั้นจั่นยกตู้สินค้าหน้าท่าควบคุมการปฏิบัติงานจากระยะไกล (remote control quay crane หรือ RC QC) จำนวนสามคัน สามารถปฏิบัติงานยกขนตู้สินค้ากับเรือบรรทุกตู้สินค้าบนระวางได้กว้างถึง 24 แถว พร้อมกับความสูงจากสเปรดเดอร์ยกตู้สินค้าถึงพื้น 53 เมตร และสามารถยกน้ำหนักได้สูงถึง 61 เมตริกตัน ซึ่งปั้นจั่นยกตู้สินค้า RC QC เป็นหนึ่งในเครื่องมือยกตู้สินค้าที่ใหญ่ที่สุดในโลกที่ปฏิบัติการด้วยระบบควบคุมระยะไกล HPT จะนำไปปฏิบัติการในท่าเทียบเรือที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย อย่าง ท่าเทียบเรือชุด D สำหรับปั้นจั่นยกตู้สินค้าในลานแบบล้อยางควบคุมการปฏิบัติงานจากระยะไกล (remote control electric rubber tyred gantry crane หรือ RC eRTGC) สามารถยกตู้สินค้าได้สูงหกชั้น สามารถยกน้ำหนักสินค้าได้ 40 เมตริกตัน โดยปั้นจั่น RC eRTGC รุ่นนี้จะมีการใช้งานที่ท่าเทียบเรือของ HPT ในประเทศไทยเป็นแห่งแรก ซึ่งถือเป็นความภาคภูมิใจของประเทศไทยและ HPT เป็นอย่างยิ่ง
Mr. Stephen Ashworth กรรมการผู้จัดการ Hutchison Ports ประจำประเทศไทยและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
การลงทุนจัดซื้อจัดหาเครื่องมือควบคุมการปฏิบัติงานจากระยะไกลครั้งนี้ แสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของ HPT ในการปฏิบัติงานด้วยความปลอดภัยและมีประสิทธิภาพสูงสุด ทั้งยังช่วยให้ท่าเทียบเรือชุด D สามารถรองรับเรือขนส่งสินค้าที่มีขนาดใหญ่ ด้วยการปฏิบัติงานภายใต้การควบคุมดูแลของเจ้าหน้าที่ที่ได้รับการฝึกอบรมมาอย่างดี Mr. Ashworth เปิดเผยว่า “เราพยายามที่จะจัดให้เจ้าหน้าที่ที่ควบคุมปั้นจั่นทั้งหมดมารวมในพื้นที่เดียวกันและทำงานผ่านหน้าจอและแผงควบคุมที่อยู่ที่ศูนย์บังคับการ โดยที่เจ้าหน้าที่ของเราจะทำหน้าที่ในการควบคุมและติดตามการยกตู้สินค้า ขึ้นและลงจากเรือขนส่งสินค้า รวมถึงการปฏิบัติการภายในลานจัดเก็บตู้สินค้าด้วย พนักงานของเราได้เรียนรู้การปฏิบัติการด้วยระบบอัตโนมัติจากท่าเทียบเรืออื่นๆ ภายในกลุ่มบริษัทฯ ของเราที่ปฏิบัติการด้วยระบบนี้มาก่อน โดยเราได้ส่งเจ้าหน้าที่ไปฝึกอบรมและเรียนรู้การปฏิบัติการจากท่าเทียบเรือเหล่านี้ ดังนั้น เมื่อท่าเทียบเรือชุด D เฟสแรกเปิดให้บริการ เราก็พร้อมที่จะเริ่มการปฏิบัติการได้ทันที และเมื่อท่าเทียบเรือชุด D ก่อสร้างเสร็จสมบูรณ์แล้ว ท่าเทียบเรือแห่งนี้ก็จะกลายเป็นท่าเทียบเรือสำคัญอีกแห่งหนึ่งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และจะกลายเป็นพื้นที่สำคัญที่เราจะใช้ในการจัดฝึกอบรมการปฏิบัติการด้วยระบบ ควบคุมระยะไกลให้แก่พนักงานของเราจากทั่วโลกด้วย” Mr. Ashworth กล่าวเพิ่มเติมว่า “เราวางแผนให้ท่าเทียบเรือชุด D สามารถรองรับเรือขนส่งสินค้าที่ใหญ่ที่สุดที่เข้าเทียบที่ท่าเรือแหลมฉบังด้วย เนื่องจากปัจจุบัน เรือขนส่งสินค้าขนาดใหญ่ต้องใช้เวลารอนานก่อนที่จะสามารถเข้าเทียบที่ท่าเทียบเรือในไทยได้ แต่ทางเราได้วางแผนรับมือในครั้งนี้ ด้วยการลงทุนจัดซื้อปั้นจั่นยกตู้สินค้าชุดใหม่ในท่าเทียบเรือชุด D เพื่อให้สามารถรองรับเรือขนส่งสินค้าขนาดใหญ่ ซึ่งนอกจากเราจะลงทุนจัดหาเครื่องมือชุดใหม่แล้ว เรายังได้มีการลงทุนด้านเทคโนโลยีควบคุมระยะไกลภายในท่าเทียบเรือชุด D อีกด้วย แม้ว่าเทคโนโลยีดังกล่าว จะถือเป็นสิ่งใหม่สำหรับประเทศไทย แต่ท่าเทียบเรืออื่นๆ ในต่างประเทศก็ได้เริ่มนำเทคโนโลยีเหล่านี้เข้าไปใช้ปฏิบัติการเป็นที่เรียบร้อยแล้ว และอีกไม่นานเราจะได้เห็นท่าเทียบเรือตู้สินค้าหลักปฏิบัติการด้วยระบบอัตโนมัติมากขึ้น ซึ่งเป็นผลดีต่อเจ้าหน้าที่ประจำท่าเทียบเรือ เนื่องจากเทคโนโลยีใหม่นี้จะช่วยให้การปฏิบัติงานอยู่ภายใต้สภาวะแวดล้อมที่ดีและปลอดภัยขึ้น ขณะเดียวกันก็ช่วยให้สามารถทำงานได้ดียิ่งขึ้นด้วย” การใช้งานเครื่องมือชุดใหม่นี้เป็นหนึ่งในกลยุทธ์การขยายธุรกิจของ HPT ในประเทศไทย ซึ่งในปัจจุบันบริษัทฯ ได้ให้บริการท่าเทียบเรือ A2, A3 และท่า C1C2 ภายในท่าเรือแหลมฉบัง โดยปัจจุบันปริมาณตู้สินค้าที่ HPT รองรับได้เริ่มที่จะเข้าใกล้ขีดความสามารถการรองรับสูงสุดแล้ว ซึ่งการเปิดให้บริการท่าเทียบเรือชุด D เพิ่มเติม จะช่วยให้ HPT สามารถรองรับความต้องการในตลาดที่เพิ่มขึ้นในอนาคตได้ อีกทั้งท่าเทียบเรือใหม่ยังจะช่วยให้ HPT สามารถรองรับตู้สินค้าได้มากถึงหกล้านทีอียู ซึ่งเป็นการตอกย้ำว่า HPT อยู่ในฐานะท่าเทียบเรือที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย เมื่อโครงการท่าเทียบเรือชุด D เสร็จสมบูรณ์ ท่าเทียบเรือฯ จะถือเป็นกำลังสำคัญในการสนับสนุนโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (EEC) ของภาครัฐ ซึ่งเป็นโครงการที่คาดว่าจะสามารถขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศได้เป็นอย่างดีในอนาคต ดังนั้น จึงถือเป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมที่ทาง HPT กำลังอยู่ระหว่างการก่อสร้างท่าเทียบเรือชุด D
ร้อยตำรวจเอก ธนาบดี ธูปเทียนรัตน์ ผู้อำนวยการสำนักปฏิบัติการ ท่าเรือแหลมฉบัง
“การก่อสร้างท่าเทียบเรือ ชุด D เฟส 1A ประกอบไปด้วย ท่าเรือน้ำลึกขนาดความยาวหน้าท่า 400 เมตร โดยมีปั้นจั่นยกตู้สินค้าหน้าท่าขนาด Super post-panamax จำนวนสามคัน และปั้นจั่นยกตู้สินค้าในลานแบบล้อยาง อีก 10 คัน โดยคาดว่าจะมีกำหนดเปิดให้บริการประมาณช่วงกลางปี 2018” Mr. Ashworth กล่าว “นอกจากนี้ ในช่วงกลางปี 2019 ส่วนต่อขยายในเฟส 1B ก็จะก่อสร้างแล้วเสร็จเช่นเดียวกัน เมื่อการก่อสร้างเสร็จสมบูรณ์ ท่าเทียบเรือทั้งสองส่วนจะมีความยาวหน้าท่ารวม 1,000 เมตร โดยจะมีการติดตั้งปั้นจั่นยกตู้สินค้าหน้าท่าทั้งหมดหกคัน และปั้นจั่นยกตู้สินค้าในลานแบบล้อยาง รวมทั้งสิ้น 20 คัน โดยเราได้ออกแบบท่าเทียบเรือใหม่ เพื่อให้สามารถรองรับเรือขนส่งตู้สินค้าขนาดใหญ่เข้าเทียบท่าที่ท่าเรือแหลมฉบัง อีกทั้งยังช่วยเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน รวมทั้งช่วยลดระยะเวลาในการขนถ่ายสินค้าให้รวดเร็วยิ่งขึ้น และช่วยลดต้นทุนให้แก่ลูกค้าสายการเดินเรือที่ให้บริการในเส้นทางอเมริกาเหนือและยุโรป อย่างไรก็ตาม ท่าเทียบเรือของเรายังสามารถให้บริการแก่เรือลำเลียงสินค้าที่ให้บริการในเส้นทาง Intra-Asia ด้วยเช่นกัน ทั้งนี้ ท่าเทียบเรือของเราพร้อมให้บริการลูกค้าด้วยความยืดหยุ่น ซึ่งช่วยให้เราสามารถให้บริการแก่ลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ” ในอนาคต เมื่อมีการเปิดให้บริการท่าเทียบเรือชุด D แล้ว Mr. Ashworth เล็งเห็นว่าในอีก 5-10 ปีข้างหน้า ประเทศไทยจะเป็นเกตเวย์สำคัญของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ “ท่าเทียบเรือชุด D จะเป็นหนึ่งในท่าเทียบเรือที่ใหญ่ที่สุดในโลกที่ปฏิบัติการด้วยระบบอัตโนมัติ โดยการลงทุนในด้านโครงสร้างพื้นฐาน เครื่องมือและอุปกรณ์ รวมทั้งเทคโนโลยีต่างๆ สะท้อนให้เห็นถึงความมุ่งมั่นและทุ่มเทของ HPT ที่มีต่อประเทศไทยและท่าเรือแหลมฉบัง รวมทั้งยังสะท้อนให้เห็นถึงเป้าหมายในการผลักดันให้ HPT เป็นหนึ่งในต้นแบบของท่าเรือทั่วโลก นอกจากนี้ เรายังได้มีการวางแผนลงทุนอย่างต่อเนื่องเพื่อขยายโอกาสของเราและลูกค้าในประเทศไทย” “การที่ Hutchison Ports Thailand (HPT) ได้ลงทุนจัดซื้อและนำปั้นจั่นยกขนตู้สินค้าชุดใหม่ ซึ่งเป็นหนึ่งในปั้นจั่นที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก พร้อมติดตั้งด้วยระบบควบคุมระยะไกลเข้ามาใช้ในการปฏิบัติการน่าจะช่วยให้การทำงานภายในท่าเทียบเรือชุด D มีความปลอดภัยและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เมื่อท่าเทียบเรือชุด D ในท่าเรือแหลมฉบังเปิดให้บริการเป็นที่เรียบร้อยแล้ว จะทำให้สามารถรองรับเรือขนส่งสินค้าขนาดใหญ่ที่สุดที่ให้บริการอยู่ในปัจจุบัน อีกทั้งยังเพิ่มขีดความสามารถในการนำเข้า-ส่งออกสินค้าผ่านท่าเรือให้มีความคล่องตัวมากขึ้น ผ่านการปฏิบัติงานด้วยระบบการทำงานอันทันสมัยของปั้นจั่นยกตู้สินค้านี้ด้วย ซึ่งแน่นอนว่าท่าเทียบเรือฯ จะกลายเป็นส่วนสำคัญในการสนับสนุนเศรษฐกิจของประเทศ รวมถึงโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจตะวันออก (EEC) ที่หน่วยงานภาครัฐกำลังเร่งผลักดัน และยังจะทำให้ท่าเรือแหลมฉบังบรรลุวิสัยทัศน์ในการเป็นศูนย์กลางการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบและโลจิสติกส์ของอาเซียนด้วย” ร้อยตำรวจเอก ธนาบดี ธูปเทียนรัตน์ ผู้อำนวยการสำนักปฏิบัติการ ท่าเรือแหลมฉบัง กล่าว

เมื่อวันที่ 12 มกราคม ปี 2018 บริษัท HUTCHISON PORTS THAILAND (HPT) หรือ ฮัทชิสัน พอร์ท ประเทศไทย ผู้ประกอบการท่าเทียบเรือรายใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ได้รับมอบปั้นจั่นยกตู้สินค้าหน้าท่าจำนวนสามคัน และปั้นจั่นยกตู้สินค้าในลานแบบล้อยางจำนวนแปดคัน ซึ่งผลิตโดยบริษัท SHANGHAI ZHENHUA HEAVY INDUSTRY (ZPMC) ในเมืองเซียงไฮ้ ประเทศจีน

ทั้งนี้ เครื่องมือทั้งสองชนิดนี้ ติดตั้งเทคโนโลยีควบคุมการปฏิบัติงานจากระยะไกล ทำให้ HPT เป็นท่าเทียบเรือตู้สินค้าแห่งแรกในประเทศไทย ที่มีการติดตั้งเทคโนโลยีนี้ ปั้นจั่นยกตู้สินค้าหน้าท่าควบคุมการปฏิบัติงานจากระยะไกล (remote control quay crane หรือ RCQC) จำนวนสามคัน ที่สามารถปฏิบัติงานบนเรือที่มีระวางบรรทุกตู้ได้ถึง 24 แถว และสามารถยกน้ำหนักได้สูงถึง 61 เมตริกตัน สำหรับปั้นจั่นยกตู้สินค้าในลานแบบล้อยางควบคุมการปฏิบัติงานจากระยะไกล (remote control electric rubber tyred gantry crane หรือ RCeRTGC) สามารถยกตู้สินค้าได้สูงหกชั้น สามารถยกสินค้าหนักได้ถึง 40 เมตริกตัน ปั้นจั่น RCeRTG รุ่นนี้มีการใช้งานที่ท่าเทียบเรือของ HPT ในประเทศไทยเป็นแห่งแรก ซึ่งถือเป็นความภาคภูมิใจของประเทศไทยและ HPT เป็นอย่างยิ่ง การลงทุนจัดหาเครื่องมือควบคุมการปฏิบัติงานจากระยะไกลครั้งนี้ ถือเป็นสิ่งยืนยันถึงความมุ่งมั่นในการปฏิบัติงานโดยเน้นความปลอดภัยและมีประสิทธิภาพสูงสุด รวมทั้งยังช่วยให้ท่าเทียบเรือ D สามารถรองรับเรือที่มีขนาดใหญ่ขึ้นและเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติการในท่าเรือได้มากกว่าเดิม โดยการปฏิบัติการยกขนตู้สินค้าภายในท่าเรือจะอยู่ภายใต้การควบคุมของผู้ปฏิบัติการที่ได้รับการฝึกอบรมมาเป็นอย่างดี ซึ่งจะทำการดูแลจากหอบังคับการสำหรับควบคุมเครื่องมือระยะไกล เครื่องมือชุดใหม่นี้เป็นหนึ่งในกลยุทธ์การขยายธุรกิจของ HPT ภายหลังจากที่เครื่องมือชุดใหม่ทำการติดตั้งที่ท่าเทียบเรือ D ในท่าเรือแหลมฉบังเสร็จสมบูรณ์ ท่าเทียบเรือแห่งนี้ก็จะเป็นกำลังสำคัญที่สนับสนุนโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor Development Project) ของรัฐบาลไทยต่อไป HPT ยังเป็นผู้ประกอบการท่าเทียบเรือ A2, A3, และท่า C1-C2 ที่ท่าเรือแหลมฉบัง ซึ่งปัจจุบัน ปริมาณตู้สินค้าที่ทางบริษัทฯ รองรับได้ใกล้เต็มขีดความสามารถแล้ว ปริมาณการรองรับจำนวนตู้ท่าเทียบเรือชุด D จะช่วยให้บริษัทฯ สามารถรองรับการเติบโตตามความต้องการในตลาดที่เพิ่มขึ้นในอนาคตได้ ซึ่งเมื่อเปิดให้บริการ HPT จะสามารถรองรับตู้สินค้าได้มากถึงหกล้านทีอียู ตอกย้ำการเป็นท่าเทียบเรือที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย เมื่อโครงการท่าเทียบเรือชุด D เสร็จสมบูรณ์ จะมีความยาวหน้าท่าทั้งหมด 1,700 เมตร และมีปั้นจั่นยกตู้สินค้าหน้าท่าทั้งหมด 17 คัน โดยจะเป็นหนึ่งในท่าเทียบเรือที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลกที่ปฏิบัติการยกขนสินค้าด้วยระบบควบคุมจากระยะไกล การลงทุนในเรื่องโครงสร้างพื้นฐาน เครื่องมือและอุปกรณ์ รวมทั้งเทคโนโลยีต่างๆ ของ HPT สะท้อนให้เห็นถึงความมุ่งมั่นและทุ่มเทของกลุ่มบริษัท Hutchison Ports ที่มีต่อประเทศไทยและท่าเรือแหลมฉบัง รวมทั้งสะท้อนให้เห็นถึงเป้าหมายในการผลักดันให้ HPT เป็นหนึ่งในต้นแบบของท่าเรือทั่วโลก Mr. Stephen Ashworth กรรมการผู้จัดการ Hutchison Ports ประจำประเทศไทยและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กล่าวว่า “ท่าเทียบเรือชุด D จะสามารถรองรับเรือขนส่งสินค้าที่มีขนาดใหญ่ที่สุดที่ให้บริการอยู่ในปัจจุบันนี้ได้ และความสามารถนี้จะช่วยสร้างความแตกต่างให้เราเมื่อเทียบกับท่าเทียบเรือรายอื่น เราออกแบบท่าเทียบเรือ D โดยคำนึงถึงความต้องการของลูกค้าที่ต้องการนำเรือขนส่งสินค้าที่มีขนาดใหญ่เข้ามาเทียบท่ายังท่าเรือแหลมฉบัง เพื่อเสริมสร้างความสามารถทางการแข่งขันและเป็นการลดต้นทุน อย่างไรก็ตาม แม้ว่าการออกแบบท่าเทียบเรือ D มีจุดประสงค์เพื่อรองรับเรือที่มีขนาดใหญ่แต่ท่าเทียบเรือของเราก็ยังคงให้บริการแก่เรือลำเลียงสินค้าระหว่างประเทศและเรือในเส้นทาง Intra-Asia ด้วย บริษัทฯ ยินดีต้อนรับทุกความต้องการของผู้ใช้บริการ ด้วยพื้นที่ปฏิบัติการในท่าเรือแหลมฉบังที่เรามี ทำให้เราสามารถให้บริการได้อย่างยืดหยุ่น และการเปิดให้บริการท่าเทียบเรือชุด D แห่งนี้ ก็ยิ่งเป็นการเปิดโอกาสและทำให้เราสามารถให้บริการได้ยืดหยุ่นมากขึ้น เราหวังว่าท่าเทียบเรือ D จะเป็นกุญแจสำคัญที่เสริมสร้างโอกาสใหม่ๆ ให้กับเราและลูกค้า ตลอดจนท่าเรือแหลมฉบังด้วย เพราะ HPT เรามุ่งมั่นพัฒนาและเติบโตไปพร้อมกับประเทศไทย”
เมื่อไม่นานมานี้ บริษัท ฮัทชิสัน พอร์ท (ประเทศไทย) ได้ทำการขนถ่ายตู้สินค้าครบ 20 ล้านทีอียู นับตั้งแต่เปิดดำเนินงานมาในปี 2002
ในการฉลองร่วมกับพนักงาน Mr. Stephen Ashworth ได้กล่าวว่า “ความสำเร็จในการให้บริการตู้สินค้าผ่านท่าในครั้งนี้ นับเป็นก้าวการเติบโตที่สำคัญของกลุ่มบริษัท ฮัทชิสัน พอร์ท (ประเทศไทย) จำกัด และกลุ่มบริษัท ฮัทชิสัน พอร์ท โดยความสำเร็จดังกล่าว เป็นผลมาจากความขยันขันแข็งและความเชี่ยวชาญในการปฏิบัติงานของพนักงานทุกคน พวกเรามีความภาคภูมิใจเป็นอย่างมาก และผมขอขอบคุณทุกๆ คน ที่เกี่ยวข้องกับผลงานครั้งนี้ด้วย”
Mr.Mr. Ashworth กล่าวเพิ่มเติมว่า ท่าเทียบเรือ A2, A3, C1 และ C2 ของกลุ่มบริษัท ฮัทชิสันฯ ที่ท่าเรือแหลมฉบัง มีปริมาณตู้สินค้าผ่านท่าใกล้เต็มขีดความสามารถแล้ว และบริษัท ฮัทชิสันฯ จะเริ่มเปิดให้บริการท่าเทียบเรือ D ระยะที่ 1 ประมาณกลางปี 2018 โดยปั้นจั่นยกตู้สินค้าหน้าท่า (quay crane) และปั้นจั่นยกตู้สินค้าแบบล้อยาง (RTG) ของท่าเทียบเรือชุด D ทั้งหมด จะติดตั้งระบบปฏิบัติการแบบกึ่งอัตโนมัติ ที่ใช้เทคโนโลยีควบคุมการปฏิบัติงานระยะไกล (remote control) ที่ช่วยให้การปฏิบัติงานหน้าท่าและการปฏิบัติงานภายในลานวางตู้สินค้ามีความปลอดภัย และยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานยกขนตู้สินค้าให้กับสายการเดินเรือ ผู้นำเข้าและผู้ส่งออกที่มาใช้บริการท่าเทียบเรือของกลุ่มบริษัท ฮัทชิสันฯ ได้เป็นอย่างดี
จบการศึกษา ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ขึ้นไป ทุกสาขา หากมีประสบการณ์เกี่ยวข้องกับการตรวจสอบตู้คอนเทนเนอร์ หรือประสบการณ์การ ปฏิบัติงานท่าเทียบเรือจะพิจารณาเป็นพิเศษ สามารถทำงานเป็นกะได้ ไม่มีประวัติอาชญากร
เพศชาย อายุ 21-35 ปี มัธยมศึกษาปีที่ 3 หรือวิชาชีพเทคนิค มีประสบการณ์ด้านการขับรถฟอร์คลิฟท์ในคลังสินค้า ไม่ต่ำกว่า 1 ปี มีใบรับรองด้านการขับรถฟอร์คลิฟท์ จะได้รับการพิจารณาเป็นพิเศษ สามารถทำงานเป็นกะ, ได้รับการยกเว้นการเกณฑ์ทหาร มีสุขภาพแข็งแรง ไม่เป็นผู้กระทำความผิดทางอาญา
Page 18 of 20 1 16 17 18 19 20